สาเหตุของความล้มเหลวในขั้นตอนวางแผน

สาเหตุของความล้มเหลวในขั้นตอนวางแผน

  1. การนำมาใช้โดยผู้บริหาร ไม่ได้ตัดสินใจ
    เป็นการนำ ERP มาใช้โดยผู้บริหารไม่ได้ตัดสินใจ ทั้งๆที่การนำ ERP มาใช้นั้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างแนวคิดเรื่อง ERP เพื่อปฏิรูปองค์กร และฝังรากฐานอย่างมั่นคง ขาดการปฏิรูปจิตสำนึกที่ว่า ต้องมีการปฏิรูปองค์กรก่อน โดยมักจะหยุดอยู่เพียงแค่การนำ ERP มาใช้โดยฝ่ายระบบสารสนเทศเป็นผู้ผลักดัน
  2. การนำมาใช้แบบทดลอง
    เนื่องจากไม่มั่นใจในการใช้ ERP package จึงทดลองทำเพียงแค่เปลี่ยนส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กรโดยใช้ ERP package หากทำเพียงเท่านี้ ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการนำ ERP มาใช้
  3. การนำมาใช้เป็น Stand Alone Operation Application
    นำ ERP package มาใช้กับเพียงส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กร โดยใช้ ERP Package เป็น Stand Alone Operation Application หากเป็นเช่นนี้ ไม่ได้นำ ERP มาใช้
  4. การนำมาใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศ
    ในกรณีที่เป้าหมายของการนำ ERP มาใช้เน้นที่การสร้างระบบสารสนเทศ โดยไม่เป็นไปตามแนวความคิดของ ERP จึงยังคงห่างไกลที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างแนวคิด ERP และฝังรากฐานอย่างมั่นคง

สาเหตุของความล้มเหลวในขั้นตอนพัฒนา

  1. การนำ ERP มาใช้โดยไม่ทบทวน flow ของการดำเนินงานใหม่
    เป็นการนำ ERP มาใช้โดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับ business process ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้ไม่เกิดการปฏิรูปการทำงาน ERP จึงเป็นเพียงโครงการสร้างระบบสารสนเทศโดยใช้ ERP package เท่านั้น
  2. การนำมาใช้มีการ customize มาก
    เนื่องจากขาดการพิจารณา business process หรือ flow ของการดำเนินงานในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่สามารถใช้ business process ที่ ERP package มีให้เลือกใช้ได้ ส่งผลให้มีการ customize ปริมาณมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการพัฒนาของการนำ ERP มาใช้สูง ทำให้บางครั้งอาจมีการยกเลิกการนำ ERP มาใช้กลางคันด้วย
  3. สาเหตุของความล้มเหลวในขั้นตอนใช้งานและขั้นตอนพัฒนาต่อยอด

    • มีความพยายามต่ำในการแสวงหาประสิทธิผลต่อเนื่องหลังจากนำมาใช้ การนำมาใช้โดยไม่มีการทบทวน business process เดิม การนำมาใช้เป็น operation application, การนำมาใช้บางส่วน, การนำมาใช้โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปองค์กร หากไม่แสวงหาประสิทธิผลของการปฏิรูปการทำงานอย่างจริงจัง ประสิทธิผลของการนำมาใช้ก็จะไม่เพิ่มขึ้น
       
    • มีความพยายามต่ำในการใช้ข้อมูลหลังจากนำมาใช้ ในกรณีที่ทำการสร้างเพียงบางส่วนของฐานรากของระบบสารสนเทศขององค์กร จะทำให้ขาดความก้าวหน้าในการใช้ข้อมูลจาก ERP ในลักษณะ real time เพื่อการตัดสินใจ ผู้บริหารยังคงใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้จากข้อมูลที่รวบรวมสรุปรายเดือน

บรรณานุกรม

  • ตรีทศ เหล่าศีริหงษ์ทอง และ มุนินทร์ ลพบุรี.ประโยชน์และอุปสรรคของ ERP ภายในองค์กร. ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ เล่มที่ 180 ,2548 (หน้า 109-114).

  • เตชิด คิดรุ่งเรือง. ERP หัวใจอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย หลังเลิกระบบโควต้า. เทคนิค Techinc Magazine เครื่องกลไฟฟ้า-อุตสาหกรรม ปีที่ 21 เล่ม 204, 2548 (หน้า 156-158).

  • ปราณี ชะวรรณ์ .คุณประโยชน์และข้อจำกัดของ ERP. E-Leader ปีที่ 15 เล่มที่ 10,2003 (หน้า 98-100).

  • ปรีชา พันธุมสินชัย.ERP เผยวิธีทำจริง.กรุงเทพฯ: TLAPS, 2547.

  • วสุวัฒน์ ปันวรนุชกุล. เตรียม ERP เผื่ออนาคต. E-Leader ปีที่ 15 เล่มที่ 7, 2003 (หน้า 84-88).

  • http://www.eweekthailand.com/printout.php?bm!=0840425703

  • http://www.emerald_bibrary.com/breu/23702ac.html

(Source : -)